วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2559

10.ของสารสนเทศระดับ

ขอสารสนเทศระดับ




ระดับของสารสนเทศเป็นระดับของการเกี่ยวข้องกับสารสนเทศ มีอยู่ด้วยกัน 3 ระดับ ดังนี้



1. ระดับบุคคล 


            ระดับของการเกี่ยวข้องกับสารสนเทศในระดับบุคคลนั้น จะเป็นการที่แต่ละบุคคลในองค์กรจะสร้างและใช้สารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานส่วนตัวเท่านั้น เช่น การใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ดในการพิมพ์เอกสาร การใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์พาวเวอร์พอยต์ในงานนำเสนอสำหรับการสอนหรือบรรยาย โดยสามารถกรอกข้อความ ตาราง ภาพ ภาพเคลื่อนไหวและเสียง ที่ช่วยดึงดูดให้ผู้ฟังสนใจตลอดเวลา การใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์เอ็กเซลล์กรอกข้อมูล คำนวณ สร้างกราฟ และทำนายผลลัพธ์ของข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น

2. ระดับกลุ่ม 

            ระดับของการเกี่ยวข้องกับสารสนเทศในระดับกลุ่มนั้น จะเป็นการที่กลุ่มของคนในองค์กรที่ต้องทำงานร่วมกันจะสร้างและใช้สารสนเทศร่วมกัน ซึ่งจะส่งเสริมการดำเนินงานของกลุ่มให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
        หลักการ คือ นำเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมาเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายระยะใกล้หรือระยะไกล ทำให้มีการใช้ทรัพยากร ได้แก่ ข้อมูลและอุปกรณ์เทคโนโลยีพื้นฐานร่วมกัน


3. ระดับองค์กร 

            ระดับของการเกี่ยวข้องกับสารสนเทศในระดับองค์กรนั้น จะเป็นการที่แผนกต่าง ๆ ในองค์กร เช่น แผนการขายและการตลาด แผนการผลิต แผนกจัดซื้อ แผนกบุคคล แผนกการเงินและการบัญชี เป็นต้น มีการสร้างและส่งผ่านสารสนเทศจากแผนกหนึ่งไปยังอีกแผนกหนึ่งได้โดยสร้างสารสนเทศในรูปแบบรายงาน หรือกราฟเพื่อให้ผู้บริหารนำไปประกอบการตัดสินใจได้

        หลักการ คือ นำเครื่องคอมพิวเตอร์ของแผนกต่าง ๆ มาเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายเพื่อให้เกิดการใช้ข้อมูลร่วมกัน

        สิ่งที่สำคัญของระบบสารสนเทศระดับกลุ่มและระดับองค์กร คือ การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่ายทั้งภายในองค์กรและการเชื่อมโยงภายนอกองค์กร เพื่อให้มีการสื่อสารและส่งข้อมูลถึงกันได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ      




          

9.การจัดการสารสนเทศ

การจัดการสารสนเทศ





       
   การจัดการสารสนเทศมี  3  ขั้นตอน  คือ  การเก็บรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล  การประมวลผลข้อมูล  และการดูแลรักษาข้อมูล


การเก็บรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล 



            เป็นขั้นตอนแรกในการจัดการสารสนเทศ  ซึ่งควรกระทำควบคู่กันไป  คือ  เมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลได้แล้ว
ก็ทำการตรวจสอบข้อมูลนั้นทันที  เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องตามความต้องการมากที่สุด
            1. การเก็บรวบรวมข้อมูล  เป็นการจัดการกับข้อมูลจำนวนมาก  จึงควรกำหนดว่าจะต้องใช้ข้อมูลอะไร
บ้าง  ข้อมูลได้มาจากไหน  และจัดเก็บข้อมูลนั้นมาได้อย่างไร
           2. การตรวจสอบข้อมูล  เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาเพื่อได้สารสนเทศ
ที่คุณภาพ

การประมวลผลข้อมูล 



      การประมวลผลข้อมูล  คือ  การนำข้อมูลที่มีอยู่แล้วหรือข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมและตรวจสอบมา
กระทำเพื่อให้ข้อมูลเปลี่ยนแปลงไปจนเกิดผลลัพธ์ตามที่ต้องการ  ดังนี้
      1. การรวบรวมเป็นแฟ้มข้อมูล  เป็นการแยกประเภทของข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาอย่างเป็นระบบตามกลุ่ม
และประเภทของข้อมูลนั้น  เพื่อให้สามารถดำเนินการในขั้นตอนต่อไปได้อย่างสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น
ทั้งนี้อาจเก็บไว้ในรูปของแฟ้มเอกสารหรือแฟ้มข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในคอมพิวเตอร์ก็ได้
      2. การจัดเรียงข้อมูล  เป็นขั้นตอนการประมวลผลข้อมูล  เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหาหรืออ้างอิงข้อมูลในอนาคต
      3. การคำนวณ  เป็นการประมวลผลที่ต้องการผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่มีความละเอียดถูกต้อง  แม่นยำ
เนื่องจากที่รวบรวมและจัดเก็บมานั้นอาจมีทั้งรูปแบบของข้อความและตัวเลข  ซึ่งต้องมีการคำนวณหาค่าเฉลี่ยหรือ
ผลรวมของข้อมูลนั้น ๆ
      4. การทำรายงาน  เป็นการประมวลผลที่มีความสลับซับซ้อนมากที่สุด  โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อเผยแพร่ ข้อมูลในอนาคต  ผู้ดำเนินการจะต้องสรุปข้อมูลเพื่อทำรายงานให้ตรงกับความต้องการในการใช้สารสนเทศ นั้น ๆ
โดยจะต้องนำเสนอรายงานในรูปแบบที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดการสารสนเทศ


การดูแลรักษาข้อมูล 


        การดูแลรักษาข้อมูล  เป็นขั้นตอนการจัดการสารสนเทศมีจุดประสงค์หลักเพื่อป้องกันและเก็บรักษาข้อมูล ไม่ให้สูญหาย  ช่วยอำนวยความสะดวกในการค้นหาข้อมูลสำหรับนำกลับมาใช้ใหม่ในอนาคต
         1. การจัดเก็บ  คือการนำข้อมูลที่ผ่านการตรวจสอบและประมวลผลแล้วมาบันทึกเข้าสู่ระบบข้อมูล
อย่างมีระเบียบและเป็นหมวดหมู่  เพื่อความสะดวกในการเรียกใช้งาน  ทั้งนี้อาจจัดเก็บไว้ในรูปแบบของแฟ้มเอกสาร
สิ่งพิมพ์หรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ในคอมพิวเตอร์ก็ได้
        2. การทำสำเนา  คือ  การเพิ่มจำนวนข้อมูลด้านปริมาณ  โดยเนื้อหาของข้อมูลจะไม่เปลี่ยนแปลงไป
จากต้นฉบับหรือข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว  สามารถกระทำได้โดยการคัดลอกทั้งจากมนุษย์หรือ
เครื่องจักรต่าง ๆ  ซึ่งเป็นเครื่องถ่ายเอกสารหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ได้
        3. การแจกจ่ายและการสื่อสารข้อมูล  คือ  การนำสำเนาที่ทำเพิ่มไว้แจกจ่ายให้แก่ผู้ใช้และผู้เกี่ยวข้อง



        4. การปรับปรุงข้อมูล  คือ  การแก้ไขปรับปรุงรายการข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน  อาจกระทำโดยการแก้ไขข้อมูลบางส่วนหรือบันทึกข้อมูลเพิ่มเติมลงในระบบข้อมูล

8.วิธีการประมวลผลของข้อมูล

วิธีการประมวลผลของข้อมูล





  การประมวลผลข้อมูลสามารถทำได้  2  วิธี  คือ  การประมวลผลแบบกลุ่มและการประมวลผลแบบทันที  ดังนี้

       1. การประมวลผลแบบกลุ่ม  ข้อมูลของการประมวลผลแบบนี้จะถูกเก็บสะสมไว้ในช่วงเวลาที่กำหนด 
เช่น 7  วัน  หรือ  1  เดือน  แล้วจึงนำข้อมูลที่สะสมไว้มาประมวลผลรวมกันครั้งเดียว  เช่น  การคำนวณค่าบริการ
น้ำประปา  โดยข้อมูลปริมาณน้ำที่ใช้ทั้งหมดจะถูกเก็บบันทึกไว้ในรอบ  1  เดือน  แล้วจึงนำมาประมวลผลเป็น
ค่าน้ำประปาในครั้งเดียว    การประมวลผลแบบนี้มักมีความผิดพลาดสูง  แต่เสียค่าใช้จ่ายในการประมวลผลน้อย
      2. การประมวลผลแบบทันที  เป็นการประมวลผลที่เกิดขึ้นพร้อมกับการรับข้อมูลหรือหลังจากได้รับข้อมูล
ทันที  เช่นการฝากและถอนเงินธนาคาร  เมื่อลูกค้าฝากเงิน  ข้อมูลนั้นจะถูกประมวลผลทันที  ทำให้ยอดฝากใน
บัญชีนั้นมีการเปลี่ยนแปลง  การประมวลผลแบบนี้จะมีความผิดพลาดน้อย  แต่เสียค่าใช้จ่ายในการประมวลผล

มาก

7.ประเภทของข้อมูล

ประเภทของข้อมูล




ข้อมูลมีหลายประเภท ดังนี้


   1. ข้อมูลตัวอักษร คือ ข้อมูลที่ประกอบด้วยตัวอักษรและตัวเลขที่ไม่ใช้ในการคำนวณ ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาต่างประเทศ เช่่น ทะเบียนรถยนต์ ชื่อ นามสกุล หมายเลขโทรทัศน์ บ้านเลขที่ เป็นต้น
   2. ข้อมูลที่เป็นตัวเลข  คือ ข้อมูลที่ประกอบด้วยตัวเลข 0 ถึง 9 ใช้ในการคำนวณได้ เช่น คะแนน จำนวนเงิน ราคาสินค้า เป็นต้น
     



   3. ข้อมูลภาพ  คือข้อมูลที่เป็นภาพอาจเป็นภาพนิ่ง เช่นภาพถ่าย ภาพวาด ภาพเคลื่อไหว เช่น ภาพจากวิดีทัศน์ เป็นต้น อาจเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ หรือแผ่นซีดี เป็นต้น





    4. ข้อมูลเสียง คือ ข้อมูลที่รับรู้ด้วยการได้ยิน จัดเก็บอยู่ในสื่อคอมพิวเตอร์สามารถแสดงผลข้อมูลเสียงด้วยลำโพง


6.ความหมายของข้อมูลและสารสนเทศ

ความหมายของข้อมูลและสารสนเทศ





   ข้อมูล  ( Data or raw data)  หมายถึง ข้อเท็จจริงต่างๆ (fact)  ที่เกิดขึ้น ที่มีอยู่ในโลก ใช้แทนด้วยตัวเลข  ภาษา  หรือสัญลักษณ์ที่ยังไม่มีการปรุงแต่งหรือประมวลไดๆ )ถ้าเห็นนคำว่าข้อมูลในทางคอมพิวเตอร์ จะหมายถึงข้อเท็จจริงที่มีการรวบรวมไว้และมีความหมายในตัวเอง




    สารสนเทศ  (Information)  หมายถึง  การนำเสนอข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้  มาผ่านกระบวนการ (process)  เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีประโยชน์ต่อการตัดสินใจ  หรือหมายถึงข้อมูลที่ได้ถูกกระทำให้มีความสัมพันธ์  หรือมีความหมายนำไปใช้ประโยชน์ได้




5.ผลกระทบของเทคโนโลยี

ผลกระทบของเทคโนโลยี






ผลกระทบด้านคุณภาพชีวิต 

                1. ส่งเสริมการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น  สามารถเลือกศึกษาเรื่องใด  สถานที่ใด  หรือเวลาใดก็ได้ 
เกิดการเรียนการสอนทางไกล  การเรียนการสอนผ่านเว็บไซต์  หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ
                2. สร้างความเสมอภาคในสังคม  เผยแพร่ข่าวสารไปในทุกแห่งแม้ในถิ่นทุรกันดารต่าง ๆ
                3. ช่วยรักษาสภาพแวดล้อม  สามารถตรวจสอบและวางแผนรักษาสภาพแวดล้อมได้อย่าง ครอบคลุมและทั่วถึง  เพื่อหาทางป้องกันและแก้ไขปัญหาสภาพแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
                4. เพิ่มระบบป้องกันประเทศ  โดยมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กับความมั่นคงของประเทศชาติ  ทำให้เกิดระบบป้องกันภัยและระบบเฝ้าระวังที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
และยังมีระบบการใช้คอมพิวเตอร์ในอาวุทยุทโธปกรณ์อีกด้วย
                5. เพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิตทางการค้า  จากการผลิตในระบบอุตสาหกรรมที่นำ เครื่องคอมพิวเตอร์มาควบคุม  ทำให้เกิดผลผลิตหรือสินค้าที่มีคุณภาพโดยใช้เวลาการผลิตที่สั้นลง
                6. ส่งเสริมให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  เกิดการสร้างภาพยนตร์แอนนิเมชัน  มัลติมีเดีย
และสิ่งประดิษฐ์ในรูปแบบต่าง ๆ  มากมาย
                7. ช่วยให้สุขภาพและความเป็นอยู่ดีขึ้น  ด้วยเครื่องมือแพทย์ที่ทันสมัย  ส่งผลให้การรักษา มีประสิทธิภาพ  และลดปัญหาความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น



ผลกระทบด้านสังคม



ความปลอดภัยในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์  (Computer  Security)  คือ
วิธีการรักษาความปลอดภัยที่สร้างขึ้นเพื่อป้องกันและตรวจสอบ
ไม่ให้ผู้ที่ไม่มีสิทธิ์เข้าใช้งานและสร้างความเสียหายแก่เครื่องคอมพิวเตอร์



                1. การละเมิดลิขสิทธิ์  ทั้งการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์  และการละเมิดลิขสิทธิ์ส่วนบุคคล
โดยการนำข้อมูลของผู้อื่นไปเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาต
                2. การเข้าถึงและการใช้ข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต  โดยเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อ
ระบบเครือข่าย  ซึ่งผู้ไม่หวังดีอาจปล่อยไวรัสคอมพิวเตอร์เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ข้อมูลและเครื่อง
คอมพิวเตอร์ของผู้อื่นได้
                3. การหลอกลวงผู้ใช้คอมพิวเตอร์  เนื่องจากใครก็สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไหนและ
เมื่อไหร่ก็ได้  ดังนั้นข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์จึงไม่น่าเชื่อถือเท่ากับแหล่งการเรียนรู้อื่น  และด้วยเหตุนี้จึงเป็น
ช่องทางในการหลอกลวงผู้ใช้คนอื่น ๆ
                4. การทำให้ความสัมพันธ์ของมนุษย์เสื่อมถอย  การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศโดยเฉพาะ เครื่องคอมพิวเตอร์  ถึงแม้จะมีการเชื่อมต่อระบบเครือข่าย  แต่ผู้ใช้ก็ไม่ได้พบเห็นหรือมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
โดยตรง  ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมักขาดมนุษยสัมพันธ์ที่ดี  และเข้ากับผู้อื่นได้ยาก
                5. การเผยแพร่วัฒนธรรมที่ไม่เหมาะสม  เนื่องจากข้อมูลสารสนเทศไม่สามารถระบุเพศหรือวัยของ
ผู้ใช้ได้  ข้อมูลจึงมีความหลากหลาย  ดังนั้นผู้รับข้อมูลอาจได้รับข้อมูลที่ไม่เหมาะสมต่อเพศและวัยของตนเอง
ส่งผลให้เกิดความเชื่อที่ผิด  และอาจก่อให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมได้



ผลกระทบด้านการเรียนการสอน 
            เทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้กับการศึกษา  ได้แก่  การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน  ระบบการสื่อสารทางไกลหรือโทรศึกษา  การเรียนการสอนผ่านเว็บเพจ  และสื่อการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์  ส่งผลให้เกิดผลกระทบต่อผู้เรียนทางด้านบวกและด้านลบดังนี้
                1. ผลกระทบทางด้านบวก
                - ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกสถานที่  ทุกเวลา
                - ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนในหัวข้อหรือเนื้อหาที่สนใจได้โดยไม่ต้องเรียงลำดับ
                - สื่อมีความน่าสนใจ  ส่งผลให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาได้ดียิ่งขึ้น
                - สื่อมีรูปแบบการนำเสนอแบบโต้ตอบกับผู้เรียน  เช่น  การทำแบบฝึกหัดแล้วสามารถเฉลยข้อสอบ ให้กับผู้เรียนได้ทันที
                - สื่อสามารถเชื่อมโยงไปยังแหล่งข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่นำเสนอได้
                - ผู้เรียนสามารถติดต่อ  สอบถาม  และแสดงความคิดเห็นกับผู้สอนและผู้เรียนคนอื่น ๆ ได้ด้วย การสนทนาออนไลน์  กระดานแลกเปลี่ยน  หรือไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
                2. ผลกระทบทางด้านลบ
                - ผู้เรียนและผู้สอนจะต้องมีความพร้อมด้านเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนการสอน
                - ผู้เรียนและผู้สอนจะต้องมีความรู้ด้านการใช้เทคโนโลยี
                - เครื่องมือและอุปกรณ์จะต้องมีความทันสมัยเพื่อให้สามารถรองรับการใช้งานที่หลากหลายได้  และควรเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

                - ผู้เรียนและผู้สอนขาดปฏิสัมพันธ์กันโดยตรง

4.ความสำคัญของเทคโนโลยี

ความสำคัญของเทคโนโลยี





 ปัจจุบันระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งสำคัญสำหรับองค์กรที่เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกในการดำเนินงาน ทำให้การเข้าถึงข้อมูลมีความรวดเร็ว การติดต่อสื่อสารมีประสิทธิภาพ และช่วยประหยัดต้นทุนในการดำเนินงานด้านต่างๆ ของหน่วยงานที่เชื่อมต่อในระบบอินเทอร์เน็ต เช่น การรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การมีเว็บไซต์สำหรับเป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์ข่าวสารต่างๆ เป็นต้น แม้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศจะมีประโยชน์และสามารถช่วยอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ แต่ในขณะเดียวกันก็มีความเสี่ยงสูง และอาจก่อให้เกิดภัยอันตรายหรือสร้างความเสียหายต่อการปฏิบัติราชการได้เข่นกัน

         เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากระบบแห่งชาติไปเป็นเศรษฐกิจโลกที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจของโลกผูกพันกับทุกประเทศ ความเชื่อมโยงของเครือข่ายสารสนเทศทำให้เกิดสังคมโลกาภิวัฒน์เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้องค์กรมีลักษณะผูกพัน มีการบังคับบัญชาแบบแนวราบมากขึ้น หน่วยธุรกิจมีขนาดเล็กลง และเชื่อมโยงกันกับหน่วยธุรกิจอื่นเป็นเครือข่าย การดำเนินธุรกิจมีการแข่งขันกันในด้านความเร็ว โดยอาศัยการใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นตัวสนับสนุน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็ว

         ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำรงชีวิตเป็นอันมาก  เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี  เทคโนโลยีทำให้การสร้างที่พักอาศัยมีคุณภาพมาตรฐานสามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น เทคโนโลยีทำให้ระบบการผลิตสามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมาก  มีราคาถูกลง  สินค้าได้คุณภาพ เทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งให้บริการด้านข้อมูล  ข่าวสารด้วยกลไกอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก  รวดเร็วตลอดเวลา  จะเห็นว่าชีวิตปัจจุบันเกี่ยวข้อง กับเทคโนโลยีเป็นอันมาก  ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการทำาน